การเรียนรู้ร่วมกัน เวลาที่เราจะพูดให้ชาวบ้านเข้าใจเรื่องการเรียนรู้ร่วมกันต้องมีเครื่องมือ 5 ร ประกอบด้วย และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมาก 4 ยุทธศาสตร์ เครือข่ายนั้นเป็นความสัมพันธ์เชิงแนวราบ เครือข่ายกับกลุ่มไม่เหมือนกัน กลุ่มยังมีเรื่องโครงสร้างอำนาจอยู่ เครือข่ายกลุ่มเล็กกับกลุ่มใหญ่เท่าเทียมกัน แต่ปัจจุบันเกษตรกรของเรากินน้ำใต้ศอกพ่อค้า โดยเฉพาะพ่อค้าคนกลาง ตั้งแต่เรื่องปุ๋ย ตกเขียว ต้องปลดแอกตรงนี้ ไม่อย่างนั้นโงหัวไม่ขึ้นสักที กระบวนการเครือข่ายเมื่อเป็นแนวราบ ความเป็นเพื่อนก็เกิด ความเห็นอกเห็นใจ การเอื้ออาทร ซึ่งกันและกัน การเรียนรู้ร่วมกันเกิด และพัฒนาไปสู่การจัดการร่วมกัน เวลาไปทำงานกับชาวบ้าน ผมไม่เคยให้เขาไปต่อสู้เรื่องตลาด เพราะมันยากเกินไป ผมอยู่ในธุรกิจ ผมรู้ว่าธุรกิจแข็งแรงขนาดไหน ผมพยายามกระตุ้นให้ชาวบ้านคิดถึงเรื่องลดต้นทุนการผลิต ให้ชาวบ้านพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกให้ลดลง ให้ชาวบ้านคิดถึงเรื่องตลาด ตังเองเป็นตลาดของตัวเอง ตัวเองต้องกันต้องใช้ คนในชุมชนต้องกินต้องใช้ นั่นแหละเป็นตลาด ให้เริ่มจากตรงนี้
สรุปแล้วเหลือปัญหานิดเดียว ค่อยๆแก้ทีละประเด็นใช้เวลา 4 ชั่วโมง ได้เทคโนโลยีการปลูกข้าว ต้นทุนต่ำ 2,000 กว่าบาท ตั้งราคาข้าวไว้ 2,800 บาท ไม่ขาดทุน ชาวบ้านหัวเราะบอกว่าอย่าพูดเล่น ใช้เวลา 4 ชั่วโมงได้เทคโนโลยี แล้วพิมพ์แจกเลย บอกว่าอย่าเชื่อให้ไปทดลอง เพราะแต่ละที่ไม่เหมือนกัน แล้วเจอกันทุกเดือน ปัจจุบัน เครือข่ายพนาผล มีสมาชิก 4000 คนใน 7-8 จังหวัด (นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อุทัยธานี อ่างทอง สุพรรณบุรี กาญจนบุรี) แล้วเกิดกระบวนการ เครือข่ายมีกิจกรรมต่างๆ ทั้งเกษตรผสมผสาน พืชไร่ ข้าวอาศัยน้ำฝน ผัก ถ้าใครสนใจ เครือข่ายนี้ได้รับรางวัล จาก WHO ปลายปีที่แล้ว เวลามาประชุมจะห่อข้าวมากิน ทุกวันที่ 17 แล้วจะขยายงานได้อย่างไร ไม่มีค่ารถ ค่าเดินทาง ผมได้อาสาที่จะเข้ามาช่วยทำงานกับหมอวิจารณ์ จัดตั้งสำนักใหม่ ชื่อสำนักการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส) เริ่มจากตั้ง concept ขึ้นมาก่อนเวลาจะทำอะไรต้องมี concept โดยเอาเครือข่ายเป็นตัวตั้ง เครือข่ายจะเป็นตัวคัดเลือกว่ากลุ่มไหนที่จะเข้ามาร่วมและให้ค่ารถ เลี้ยงข้าว เพื่อให้เขาได้เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่พัฒนาแบบมีส่วนร่วมนี้ออกไป ประการที่ 2 เครือข่ายจะเจอข้าราชการดีๆ ทุกกระทรวง ทั้งสาธารณะสุข และอื่นๆ ทุกวันนี้ที่เรามีปัญหาเพราะเราไปยึดติดกับกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง ไม่มีที่ไหนที่มีทุกส่วนราชการดีพร้อมต้องมีบางส่วนที่ไม่ได้เรื่องบ้างเสมอ เพราะฉะนั้นเครือข่ายพนาผลเมื่อเจอข้าราชการดีๆ จะเชิญเข้ามาร่วมงาน ออกค่าใช้จ่ายให้ และให้ไปคิดงานในส่วนที่รับผิดชอบเป็นการเสริม ประการที่ 3 จะสร้างคนโดยรับสมัครบัณฑิตใหม่ๆ ที่สนใจเรื่องชุมชน และสร้างพร้อมกับการจัดการเครือข่าย ประการที่ 4 ทำให้เป็นห้องเรียนของนิสิตนักศึกษา โดยให้นักศึกษามาร่วมทำงานวิจัยซึ่งหัวข้อวิจัยจะถูกพัฒนา คิดค้นโดยครือข่าย แล้วรับการสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายพนาผลจะทำถึงเยาวชน ที่ตำบลบ้านไร่ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นตำบลใหญ่มากมี 23 หมู่บ้านที่ยากจน เป็นดินทรายปลูกมันสำปะหลัง 6 หมื่นกว่าไร่ ไม่มีกลุ่ม องค์กรชาวบ้านเลย เขาบอกว่ามีกลุ่มหนึ่ง เป็นกลุ่มแม่บ้านที่ยังไม่ได้ทำอะไรเลย เมื่อปี 43 เดี๋ยวนี้คนละเรื่องเลย เคลื่อนใหญ่มากไม่ใช่เฉพาะตำบลนี้ แต่ใกล้เคียงอีก 7 ตำบล และมีของมาขาย ตอนนั้นมีคนตกงานเยอะ มีนายทุนเข้าไปซื้อที่เป็นพันๆ ไร่ ปลูกไม้โตเร็ว มีคนตกงานอยู่กลุ่มหนึ่ง ผมบอกว่าครูบาสุทธินันท์เอาไม้ยูคาฯมาทำเป็นเก้าอี้โยก ทำที่บุรีรัมย์ ตัวละ 3,000 บาท ออกวันละตัว อีกเดือนต่อมาช่างเฟอร์นิเจอร์รวมกลุ่มร่วมลงทุน และทำมาให้ดูเลย กลุ่มทำเฟอร์นิเจอร์ที่นี่ดัง ขายทางอินเตอร์เนตแล้ว เกิดกลุ่มชาวบ้านขึ้น 15 กลุ่ม หลังจากทำแผนชุมชน และเกิดกลุ่มออมทรัพย์ มาเคลื่อน การประชุม มีสมาชิกกว่า 700 กว่าคนจาก 1,200 คน มีวิทยุชุมชนด้วย ที่พิษณุโลก ตำบลบ้านยาง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ไปทำแผนชุมชน ปี 43 เหมือนกัน พื้นที่ 60% เป็นป่า ชาวบ้านมีปัญหากับป่าไม้ตลอด เราเข้าไปทำงานจนชาวบ้านเวณคืนที่ดินจากป่าไม้ 7-8 กิโลเมตร แล้วทำท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จากเคยมีคนเข้าไปขนสมุนไพรทีละเป็นคันรถ เดี๋ยวนี้ชาวบ้านห้ามไม่ให้เข้าแล้ว ใช้เวลานิดเดียวในการทำแผนชุมชนเกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ที่ต่างๆเหล่านี้ ไม่ต้องเข้าไปบ่อย ชาวนาที่นี่ ชื่อลุงหวาน ธนาคารเข้าไปหาทุกปี แกบอกว่าเกิดมาไม่เคยมีหนี้เลย ตอนแต่งงานได้ควายตัวผู้มาสองตัว เลยขายแล้วไปซื้อตัวเมียมา เดี๋ยวนี้ลุงหวานมีควาย 24 ตัว แล้วทำเศรษฐกิจพอเพียง แกมีเงินเก็บ 2 ล้านกว่าบาท มีรายจ่ายน้อยมาก จะกินจะใช้อะไรแกมีหมด และปัจจุบันไม่ต้องเลี้ยงควายเอง ชาวบ้านขอยืมไปกินหญ้า ตำบลหินลาด อำเภอวัดโบสถ์ ตอนกองทุนหมู่บ้านเข้าไป มี 9 หมู่บ้านมีหนี้อยู่ 27 ล้าน กองทุนหมู่บ้าน 9 ล้านไม่มีความหมาย ตอนก่อนชาวบ้านไม่เคยเห็นตัวเลข ที่ผ่านมาคนข้างนอกไปเก็บตัวเลข คนข้างนอกวิเคราะห์ คนข้างในไม่เคยได้อะไร ดังนั้นเรื่องของเขาๆ ต้องทำ ผมไม่ทำตัวเลขให้ชาวบ้าน ให้ชาวบ้านทำเองเท่าที่จำเป็น ในระดับพอเพียง ตัวเลขเป็นเรื่องหนึ่ง และในระดับวิสาหกิจชุมชนตัวเลขเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การจัดการ การวิเคราะห์เป็นคนละเรื่อง ต้องดูว่าชุมชนตรงนั้นอยู่ในสถานภาพอย่างไร เมื่อเขาเก็บข้อมูลเองก็จะรู้สภาพของชุมชน ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น อบายมุข มากกว่าครึ่ง ปีหนึ่ง 22 ล้าน กินข้าวปีละ 6 ล้าน ลองเลิกสักปี หนี้ลดลงเลย รู้สภาพการกินการอยู่ในชุมชน เกิดตลาดท้องถิ่นของตนเอง ค่อยๆ เกิดสิ่งต่างๆ ชาวบ้านเก็บตัวเลขเอง วิเคราะห์เอง จะเกิดการกระตุ้นเตือน และเข้าใจสถานภาพของตนเอง เกิดการประเมินตนเอง ( self evaluation) เพื่อเข้าใจปัญหา แล้วจะเกิดระบบ การจัดการและการแก้ปัญหาด้วยตนเอง (self management) เรากำลังจะพาเกษตรกรเข้าไปสู่การพัฒนาและแก้ปัญหาด้วยตนเอง ต้องให้เขารู้จักการเก็บตัวเลข วิเคราะห์ และสังเคราะห์
ปัจจุบันไม่ได้อยู่นิ่งๆ มันเคลื่อนไปสู่อนาคตตลอด อนาคตที่เรามุ่งหวังก็คือสามารถพึ่งตนเองได้ หรืออย่างน้อยก็พึ่งพากันเองได้ สิ่งที่สำคัญต้องไปถอดทุนที่มีอยู่ ได้แก่ทุนทางสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร แล้วทำบนทุนที่มี แล้วชาวบ้านจะไม่ผิดหวัง และเชื่อว่าในยุคข้างหน้า ใครถือทรัพยากรไว้ได้จะมีอำนาจสูง เพราะความรู้ เทคโนโลยีสามารถถ่ายทอดกันอย่างรวดเร็วมาก อะไรต่ออะไร มันเปลี่ยนแต่รูปแบบ การล่าเมืองขึ้นในอดีตนั้น ปัจจุบันยังล่ากันอยู่เหมือนเดิม แต่รูปแบบเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็น การค้าเสรี WTO GAT อะไรก็แล้วแต่ มันเป็นยุคแห่งการล่าทรัพยากร ทุกวันนี้ทรัพยากรมันเสื่อมโทรมลง ที่น่าเป็นห่วงคือ ที่ สปก. ที่กำลังจะแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ต้องระวังอย่าให้ถูกเปลี่ยนมือ ต้องบอกเกษตรกรว่าทั้งชีวิตตัวจะตายอย่าขายที่ดิน ไม่มีที่ดินจะเรียกตัวเองว่าเกษตรกรได้อย่างไร ไม่สนใจว่าจะทำการเกษตรแบบใด แต่ที่ดินต้องไม่เสีย ดินต้องไม่เสีย น้ำต้องไม่เสีย เขาถึงจะยั่งยืน แต่คนจนในเมืองต้องพึ่งพา โครงการเอื้ออาทรต่างๆ เพราะเขาไม่มีทรัพยากร เพราะฉะนั้นความยั่งยืนของเกษตรกรอยู่ที่ทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ความหลากหลายอันนี้ต้องไปให้ได้ ถามว่าเกษตรกรจะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี รักษาทรัพยากรได้อย่างไร ถ้าเขาไม่มีสติปัญญา ความรับผิดชอบ และไม่เข้าใจเรื่องการทำงานอย่างมีส่วนร่วม ตรงนี้เป็น key word ที่สำคัญ สิ่งที่สำคัญ ต้องมีสติปัญญา มีความรับผิดชอบ แล้วต้องเข้าใจการทำงานอย่างมีส่วนร่วม จะช่วยให้เกษตรกรที่อ่อนแอแข็งแรงขึ้นทันท่วงที ถ้าสติปัญญาเกิดช้า จะตายไปก่อน ความรู้แจ้งรู้จริงต้องเกิดเร็ว การทำงานแบบมีส่วนร่วมจะทำให้ความรู้เกิดได้ และเกิดเร็ว ผมไม่เคยเชื่อเรื่องการแก้ปัญหาด้วยเงิน แต่ผมเชื่อเรื่องการแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา ความรับผิดชอบ การทำงาอย่างมีส่วนร่วม ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์
มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน
prateep.v@pan-group.com |
กระบวนทัศน์ใหม่ >