ปุ๋ยสั่งตัด
ทำไมต้องใช้ปุ๋ยสั่งตัด
คำแนะนำการใช้ปุ๋ยสำหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศยังคงเป็นคำแนะนำอย่างกว้างๆ อัตราการใช้ปุ๋ยและสูตรปุ๋ยไม่เฉพาะเจาะจงสำหรับดินหรือพืชแต่ละชนิด รวมทั้งไม่คำถึงถึงปริมาณธาตุอาหาร พืชที่มีอยู่ในดินขณะนั้น จึงเป็นคำแนะนำปุ๋ยแบบ "เสื้อโหล" ทำให้การใช้ปุ๋ยไม่ตรงกับความต้องการของพืช ถ้าใส่ปุ๋ยให้แก่พืชมากเกินไป นอกจากสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายแล้ว ยังทำให้เกิดโรคและแมลง ระบาดมากขึ้น แต่ถ้าใส่ปุ๋ยไม่เพียงพอ จะทำให้ธาตุอาหารพืชในดินลดน้อยลง ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร
ปุ๋ยสั่งตัดเป็นอย่างไร
การใช้ปุ๋ยเคมีแบบ "สั่งตัด" คือ การจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ โดยนำข้อมูลชุดดินและข้อมูล เอ็น-พี-เค ในดินมาประกอบการตัดสินใจเลือกสูตรปุ๋ย และกำหนดปริมาณปุ๋ยในการปลูกพืช เป็นการใช้ปุ๋ยเคมีตามชุดดินและค่าวิเคราะห์ดิน นอกจากนี้ยังนำปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช เช่น พันธุ์พืช แสงแดด อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ฯลฯ มาสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์โดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีอีกด้วย
ขั้นตอนการใช้ปุ๋ยสั่งตัด
ขั้นที่ 1 ตรวจสอบข้อมูลชุดิน สอบถามข้อมูลชุดดินได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หรือใช้คู่มือตรวจสอบชุดดิน
ที่ทีมงาน ของ ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ ได้จัดทำขึ้น ทั้งดินไร่และดินนา
ขั้นที่ 2 ตรวจสอบปริมาณ เอ็น-พี-เค ในดิน เก็บตัวอย่างดิน และวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดิน โดยใช้ชุดตรวจสอบ
N-P-K ในดินแบบรวดเร็ว ซึ่งใช้เวลาเพียง 30 นาที
ขั้นที่ 3 ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ ศึกษาจากคู่มือคำแนะนำการใช้ปุ๋ย หรือโปรแกรม SimRice หรือ SimCorn ในเว็บไซต์ www.ssnmthai.com และสอบถามรายละเอียดได้ที่ กองปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทรศัพท์ 02-942-8104-5 แฟกซ์ 02-942-8106
หมายเหตุ สำหร้บข้าวและพืชไร่ ควรวิเคราะห์ดินก่อนการปลูกพืชทุกครั้ง (3-4 ครั้งแรก) เพื่อปรับคำแนะนำการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพของดินในไร่นา โดยการสังเกตการเจริญเติบโตของพืช หลังจากนั้นควรวิเคราะห์ดินทุกๆ 2 ปี
แนวคิดเรื่องปุ๋ยสั่งตัด
ปุ๋ยสั่งตัด คืออะไร
(รายการทิดบ้วนชวยคุย ช่วงภาษาเกษตร - 5 มิ.ย.54)
เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2550 ศูนย์พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีรัฐร่วมเอกชนได้จัดพิธีลงนามข้อตกลง “การอนุญาตให้ใช้สิทธิ์การผลิตชุดตรวจสอบ NPK ในดิน” ระหว่างกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และมูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ความเป็นมาของผลงานดังกล่าว สกว. ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัย “การพัฒนาระบบคำแนะนำปุ๋ยเคมีสำหรับข้าวโพด ข้าว และอ้อย” แก่มหาวิทยาลัยฯ โดยมี ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ เป็นหัวหน้าโครงการ และได้พัฒนาชุดตรวจสอบ NPK ในดิน ซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 046888 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2548
มูลนิธิฯ ได้แสดงความประสงค์ขออนุญาตใช้สิทธิ์ เพื่อนำไปจัดหาผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่าย ภายใต้เงื่อนไขที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร ชุมชน สังคม และงานวิจัยดินและปุ๋ย สกว. และมหาวิทยาลัยฯ จึงได้ตกลงร่วมกันอนุญาตให้มูลนิธิฯ ดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2550 เป็นต้นไป รวมระยะเวลา 7 ปี
เว็บไซต์ปุ๋ยสั่งตัดอย่างเป็นทางการ
ติดตามข่าวสาร การฝึกอบรมการใช้ปุ๋ยสั่งตัดได้ที่เว็บไซต์