โครงการทักษะคอมพิวเตอร์เพื่อชุมชน
ความเป็นมา
เครือข่ายกองทุนพี่ช่วยน้องและเพื่อน ร่วมกับ โรงเรียนบ้านหนองยาง ชุมชนหนองยาง และชุมชนโรงเรียนที่สนใจ ได้จัดทำ "โครงการทักษะคอมพิวเตอร์เพื่อชุมชน" เพื่อให้นักเรียน เยาวชน ครู พระสงฆ์ ผู้นำ ประชาชน ฯลฯ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเรื่องคอมพิวเตอร์และพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ตามหลัก "บวร" (บ้านวัดโรงเรียน) ตั้งแต่เดือน มีนาคม 2545 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีผู้ผ่านกระบวนการไปแล้วมากกว่า 1,000 คน มีชุมชนเข้าร่วมกว่า 30 ชุมชน เกิดวิทยากรชุมชน กว่า 100 คน และชุดความรู้ไอทีชุมชนกว่า 30 ชุดความรู้
ฐานคิด
1. สร้างทีมงาน กลุ่ม และเครือข่าย ในลักษณะ "พหุภาคี" ประกอบด้วย เยาวชน ผู้นำ ผู้รู้ ชุมชน เครือข่าย และภาคีการพัฒนา เช่น โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล เกษตร พัฒนาชุมชน ฯลฯ
2. ใช้ "กิจกรรมทักษะคอมพิวเตอร์" เป็น "เครื่องมือ" ให้นักเรียน เยาวชน ครู พระสงฆ์ ผู้นำ ประชาชน ฯลฯ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้อย่างต่อเนื่อง
3. ให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ทักษะคอมพิวเตอร์ควบคู่กับการเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่น ตาม "ศักยภาพ"
บนพื้นฐานของภูมิปัญญา วัฒนธรรมชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น
4. เสริมสร้าง "กระบวนการเรียนรู้" เพื่อปลุก "จิตสำนึกท้องถิ่น" ไปพร้อมๆ กับประสานพลังสร้างสรรค์
ของพหุภาคีในการพัฒนา "องค์ความรู้" และ "ระบบการจัดการ" ที่เหมาะสม
5. เริ่มจาก "กลุ่ม ชุมชน โรงเรียน" ที่มีความพร้อม แล้วขยายต่อไปใน "ตำบล จังหวัด" ต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เสริมสร้างทักษะคอมพิวเตอร์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นการเรียนรู้
จากการปฏิบัติจริง
2. รวบรวม สังเคราะห์ “ข้อมูลท้องถิ่น” ที่เอื้อประโยชน์ต่อพัฒนาท้องถิ่น ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
สังคมวัฒนธรรม ชุมชน การดำเนินชีวิต วิถีชีวิต เป็นฐานที่ตั้ง
3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลชุมชนท้องถิ่น ที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
ในสถานศึกษา ชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น และภาคีการพัฒนา ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันเท่าทันสถานการณ์ ตัดสินใจบนพื้นฐานความถูกต้องของศักยภาพชุมชน
แนวทางดำเนินงาน
1. พัฒนายกระดับแกนนำชุมชน เยาวชน ภาคีในชุมชนท้องถิ่น ได้เรียนรู้ทักษะคอมพิวเตอร์
บนฐานชุมชนท้องถิ่น เช่น ประวัติชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ ผู้รู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงสู่การพึ่งตนเองให้มากที่สุด
2. ยกระดับ “ศักยภาพท้องถิ่น” แต่ละพื้นที่ ใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนพัฒนา “ชุมชนท้องถิ่น” ต่อไป
3. พัฒนาแนวคิด ประสบการณ์ชุมชนท้องถิ่น องค์กรชุมชน หรือเครือข่าย เข้าเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน ให้นักเรียนได้เรียนรู้
4. พัฒนา “ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน” สำหรับชุมชน โรงเรียน วัด องค์กรชุมชน เครือข่าย ภาคีในระดับท้องถิ่น โดยมีชุมชนและภาคีร่วมกันบริหารจัดการร่วมกัน
5. พัฒนา “สื่อการเรียนรู้สูตรท้องถิ่นที่เหมาะสม” อาทิ หนังสือ แผ่นผับ วีซีดี เว็บไซต์ ฯลฯ
6. สร้าง “เวทีการเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่น” ระหว่างชุมชน นักเรียน เครือข่าย ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน
ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
7. สร้างเครือข่ายแกนนำไอซีทีชุมชนในระดับชุมชน ตำบล เครือข่าย
8. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ “ข้อมูลท้องถิ่น” ไปสู่สังคมในวงกว้าง ผ่านเครือข่ายวิทยุชุมชนท้องถิ่น เว็บไซต์เครือข่าย สื่อการเรียนรู้ ฯลฯ
สถานที่จัดการเรียนรู้
1. สถานที่หลัก ที่ทำการเครือข่ายฯ วัดหนองยาง
2. เครือข่ายโรงเรียน โรงเรียนบ้านหนองยาง โรงเรียนบ้านสุขเดือนห้า โรงเรียนบ้านวังคอไห โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์
3.ชุมชน วัด ที่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์หรือมีความเหมาะสมในการจัดการเรียนรู้
ภาคีความร่วมมือ
1. วัดหนองยาง
2. ชุมชนหนองยาง
3. โรงเรียนบ้านหนองยาง
4. โรงเรียนบ้านวังคอไห
5.โรงเรียนบ้านสุขเดือนห้า
5. โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์
6. ชุมชนเครือข่าย 20 ชุมชน
7. มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน
8. ชุมชน องค์กร หน่วยงานที่สนใจเข้าร่วม
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมที่ผ่านมาบางส่วน
เก็บตก
เรื่องเล่าทักษะคอมพิวเตอร์เพื่อชุมชนจากเฟชบุ๊คบ้านไร่นาเรา