เครือข่ายกองทุนพี่ช่วยน้องและเพื่อน

ความเป็นมา

         เครือข่ายกองทุนพี่ช่วยน้องและเพื่อน (กพน.) เกิดจากความร่วมมือ "บวร" (บ้าน วัด โรงเรียน) ซึ่งวัดหนองยางในฐานะผู้ประสานงาน ได้ร่วมกับชุมชนหนองยาง และโรงเรียนบ้านหนองยาง ดำเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2545 โดยกิจกรรมแรกที่ดำเนินการคือ ทักษะคอมพิวเตอร์เพื่อชุมชนแล้วพัฒนาต่อยอดกิจกรรม สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทุกภาคส่วนอื่นๆ ทั้งเด็ก เยาวชน ผู้นำ ภาคีท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม อาทิ พี่ช่วยน้อง  ลานบุญ  ลานปัญญา การผลิตสื่อ

สร้างสรรค์ มีอาสาสมัครชุมชน ผู้นำเยาวชน เกษตรกรผู้นำ องค์กรชุมชน ครู พระสงฆ์ และภาคีพัฒนาชุมชน ร่วมดำเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในตำบลสุขเดือนห้าและใกล้เคียงเพื่อนำไปสู่ชุมชนพึ่งตนเอง มีผู้ผ่านกิจกรรมไปมากกว่า 3,000 คน จาก 20 ชุมชนที่เข้าร่วม

         เพื่อให้ความร่วมมือของบ้าน วัดและโรงเรียนดำเนินการได้อย่างมีพลังและต่อเนื่อง ผู้นำเยาวชน ผู้นำชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชนและภาคีการพัฒนา จึงเห็นควรให้จัดตั้ง "กองทุนพี่ช่วยน้อง" ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยการทอดผ้าป่าสามัคคี เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน  2553 ที่ผ่านมา

 

ฐานคิดการทำงาน

         1. สร้างทีมงาน กลุ่ม และเครือข่าย ในลักษณะ "พหุภาคี" ประกอบด้วย เยาวชน ผู้นำ ผู้รู้ ชุมชน และภาคีการพัฒนา เช่น โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล เกษตร พัฒนาชุมชน ฯลฯ

         2. ใช้ "การเรียนรู้จาการปฏิบัติ" เป็น "เครื่องมือ" ให้นักเรียน เยาวชน ครู พระสงฆ์ ผู้นำ ประชาชนทุกภาคส่วนในชุมชนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่

         3. ให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงควบคู่กับการเรียนรู้ชุมชนท้องถิ่น ตาม “ศักยภาพ” บนพื้นฐานของภูมิปัญญา วัฒนธรรมชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น

         4. เสริมสร้าง “กระบวนการเรียนรู้” เพื่อปลุก "จิตสำนึกท้องถิ่น" ไปพร้อมๆ กับประสานพลังสร้างสรรค์ของพหุภาคี ในการพัฒนา "องค์ความรู้" และ "ระบบการจัดการ" ที่เหมาะสม

         5. เริ่มจาก "กลุ่ม ชุมชน โรงเรียน" ที่มีความพร้อม แล้วขยายต่อไปใน "ตำบล จังหวัด" ต่อไป

 

กิจกรรมการเรียนรู้

         1. ทักษะคอมพิวเตอร์เพื่อชุมชน

ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ร่วมกันสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองและชุมชนท้องถิ่น ของนักเรียน เยาวชน ครู พระสงฆ์ ผู้นำ ชุมชน จัดช่วงปิดเทอม เปิดเทอม วันหยุดเสาร์อาทิตย์ ตลอดจนสัญจรไปยังโรงเรียนที่มีความพร้อมด้านสถานที่ ตั้งแต่ปี 2545 มีการจัดการเรียนรู้กว่า 1,000 ครั้ง มีผู้ผ่านกระบวนการไปแล้วกว่า 10,000 คน เกิดวิทยากรชุมชนกว่า 100 คน [รายละเอียด...]

         2. ค่ายพี่ช่วยน้อง

หนุนเสริมหลักคิดในการตัดสินใจที่เหมาะสมสอดคล้องกับตนเองและครอบครัว ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชน รวมทั้งความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ผ่านกิจกรรม "ค่ายพี่ช่วยน้อง" ตั้งแต่ปี 2548 กำหนดจัดทุกวันเสาร์อาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคมทุกปี โดยมีเด็ก เยาวชนและผู้เข้าร่วมงานจาก 10 โรงเรียน 20 ชุมชน รวมทั้งหมดกว่า 1,000 คน [รายละเอียด...]

        3.ซ่อมอาชีพหลัก สร้างอาชีพในฝัน

"อาชีพหลัก" หมายถึง อาชีพของคนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านส่วน "อาชีพในฝัน" หมายถึง สัมมาชีพที่พัฒนาจากฐานภูมิปัญญาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น จึงพึ่งพาภายนอกน้อยลงโดยเฉพาะการตลาด เทคโนโลยีและปัจจัยการผลิต  [รายละเอียด...]

         4. ลานบุญ ลานปัญญา

เปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมของคนทุกภาคส่วนในชุมชนทั้งเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน พระสงฆ์ ภาคีในท้องถิ่น ได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนท้องถิ่นไปสู่การพึ่งตนเอง ผ่านกิจกรรม "ลานบุญ ลานปัญญา" อาชีพ การศึกษา การพึ่งตนเอง ชุมชนเข้มแข็ง การเผยแพร่ความรู้จากภาคีพัฒนา เพื่อการรู้เท่าทันสถานการณ์ในสังคมรอบข้าง [รายละเอียด...]

         5. สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมท้องถิ่น

สืบค้น รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่น ที่เอื้อประโยชน์ต่อพัฒนาท้องถิ่น ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สังคมวัฒนธรรม ชุมชน การดำเนินชีวิต วิถีชีวิต เป็นฐานที่ตั้ง [รายละเอียด...]

         6.ห้องเรียนสีเขียว

แหล่งเรียนรู้ครูติดแผ่นดิน บูรณาการการเรียนรู้หลักคิด หลักวิชาผ่านการปฏิบัติจริง ที่นำไปสู่การพึ่งตนเองในระดับครัวเรือน ประกอบด้วย ธนาคารต้นไม้ สวนผักบวรพืชผักปลอดสารพิษ สระน้ำ แหล่งโปรตีนธรรมชาติ เตาเผาถ่านแกลบมหัศจรรย์ บริการคำแนะนำการใช้ปุ๋ยสั่งตัด และบริการตรวจดิน เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ถูกต้องเหมาะสม [รายละเอียด...]

         7.เตาเผาถ่านแกลบมหัศจรรย์

นำแกลบวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นถ่านแกลบ ซึ่งมีคุณสมบัติในการปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุยได้ดี มีอายุการใช้งาน และผลพลอยได้ คือ น้ำส้มควันแกลบ นำไปไล่แมลงศัตรูพืชในไร่นาเกษตรกร [รายละเอียด...]

         8.ดอกเหงื่อความดี

ส่งเสริมพัฒนาเยาวชนให้มีจิตอาสา ใฝ่ดี มีจิตสาธารณะ ใฝ่รู้ มีสติรู้ตัว มีปัญญารู้คิด และประกอบสัมมาชีพได้ ผ่านกิจกรรม “ดอกเหงื่อความดี” โดยเยาวชนได้เรียนรู้การปฏิบัติงานจริงในกิจกรรมต่างๆ ของห้องเรียนสีเขียว แล้วนำชั่วโมงความดีที่ได้มารับบริการห้องสมุดบ้านไร่นาเรา [รายละเอียด...]

         9.ห้องสมุดบ้านไร่นาเรา

บริการคอมพิวเตอร์ สืบค้นเทคโนโลยีสารสนเทศ อินเทอร์เน็ต สื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนเข้มแข้ง กระบวนทัศน์ใหม่ ข้อมูลชุมชนท้องถิ่น [รายละเอียด...]

         10. สื่อสร้างสรรค์

ผลิต “สื่อสร้างสรรค์” ภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ ชุมชนเข้มแข็ง วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของเด็กและเยาวชน ตลอดจนความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนท้องถิ่น ตั้งแต่ปี  2545   มากกว่า 200 เรื่อง [รายละเอียด...]

         11.เว็บบ้านไร่นาเรา

แบ่งปันชุดความรู้  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนเข้มแข็ง ศิลปวัฒนธรรม กระบวนทัศน์ใหม่ และประสบการณ์ที่ผ่านการปฏิบัติจริงไปสู่สังคมในวงกว้างผ่าน  “เว็บบ้านไร่นาเรา” www.banrainarao.com  ตั้งแต่ปี 2552 ปัจจุบันมีผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บมากกว่า 1,000,000 ครั้ง  [รายละเอียด...]

         12.กองทุนพี่ช่วยน้อง

เน้นการสร้างโอกาส บรรยากาศ และปัจจัยเกื้อหนุนให้เด็กและเยาวชนในชุมชน สามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 

รวมทั้งแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ไปสู่สังคมวงกว้าง เสริมสร้าง "ความเข้มแข็ง" ให้แก่โรงเรียน ครอบครัวและชุมชนท้องถิ่น

[รายละเอียด...]

กิจกรรมอื่นๆ

         1.ผ้าป่าเสริมสร้างปัญญาสมทบทุน "กองทุนพี่ช่วยน้อง"

วัตถุประสงค์ เพื่อ (1) เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชน (2) สร้างความเข้มแข็งให้แก่โรงเรียน ครอบครัว และชุมชนท้องถิ่น และ (3) สืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น  [รายละเอียด...]

         2.รับบริจาคคอมพิวเตอร์เก่า อุปกรณ์ไอที เพื่อการเรียนรู้ของชุมชน

รับบริจาคอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ทุกชนิดทั้งเมาส์ จอ คีบอร์ด แป้นพิมพ์ แผ่นดิสก์ ฯลฯ อุปกรณ์ด้านไอทีต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของชุมชนโครงการทักษคอมพิวเตอ์เพื่อชุมชนกว่า 30 ชุมชนที่ยังขาดโอกาสอีกมาก  [รายละเอียด...

         3.รับบริจาคหนังสือ สื่อเรียนรู้ "ห้องสมุดบ้านไร่นาเรา"

เครือข่ายกองทุนพี่ช่วยน้องและเพื่อน ขอเชิญชวนท่านผู้มีจิตอันเป็นกุศล ร่วมบริจาคหนังสือสื่อเรียนรู้ต่างๆ "ห้องสมุดบ้านไร่นาเรา" เพื่อเสริมสร้าง "ความเข้มแข็ง" ให้แก่โรงเรียนครอบครัว และชุมชนท้องถิ่น ตามแต่จิตศรัทธา  [รายละเอียด...]

         4.จำหน่ายถ่านแกลบและน้ำส้มควันแกลบ

รายได้ทั้งหมดสนับสนุนกองทุนพี่ช่วยน้อง เครือข่ายกองทุนพี่ช่วยน้องและเพื่อน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชน สร้างความเข้มแข็งให้แก่โรงเรียน ครอบครัว และชุมชนท้องถิ่น และสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น  [รายละเอียด...]

         5.บริการรับตรวจดินและแนะนำปุ๋ยสั่งตัด

รายได้ทั้งหมดสนับสนุนกองทุนพี่ช่วยน้อง เครือข่ายกองทุนพี่ช่วยน้องและเพื่อน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชน สร้างความเข้มแข็งให้แก่โรงเรียน ครอบครัว และชุมชนท้องถิ่น และสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น  [รายละเอียด...]


คณะกรรมการเครือข่าย

         ผู้ประสานงาน

         พระครูโกศลชัยพัฒน์ เจ้าอาวาสวัดหนองยาง

 

         ที่ปรึกษา

         1. ศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์  ข้าราชการบำนาญ

         2. รองศาสตราจารย์ ดร.ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ  ข้าราชการบำนาญ

         3. ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์  ประธานมูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน

         4. ผอ.ชาญชัย คำหอม  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองยาง

         5. ผอ.ประสพ สิงห์สม  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านวังคอไห

         6. ผอ.วินิจ ภูชัยศรีสัมฤทธิ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดคลองเกษม

 

         กรรมการ

         1. นายสุวิทย์  เพ็งสวย ผู้ใหญ่บ้าน ม.1 ต.สุขเดือนห้า

         2. นายอดุลย์  การภักดี ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 ต.สุขเดือนห้า

         3. นายบุญธรรม  ศรีเดช ม.2 ต.สุขเดือนห้า

         4. นายสง่า  ธัญญเจริญ  ม.2 ต.สุขเดือนห้า

         5. นายต่อลาภ  ศรีเดช  ม.2 ต.สุขเดือนห้า

         6. นางแววมณี  โพโต ม.2 ต.สุขเดือนห้า

         7. นายทรงศักดิ์  สังขชาติ ม.2 ต.สุขเดือนห้า

         8. นายสมบัติ  หัสแดง  ม.12 ต.สุขเดือนห้า

         9. นายสันติ์  สีวันนา  ม.12 ต.สุขเดือนห้า

         10. นายสมจิตร  ชูวงษ์  ม.12 ต.สุขเดือนห้า

         11. คุณณัฐิวุฒิ ทาสอนพันธุ์  ม.1 ต.กะบกเตี้ย

         12. อาจารย์กชพรรณ  คมขำ  โรงเรียนบ้านหนองยาง

         13. อาจารย์สำเริง  โพธิ์ขำ  โรงเรียนบ้านหนองยาง

         14. อาจารย์สุธีร์  คมขำ  โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์

         15. นางสาวดารารัตน์  ภูฆัง  ม.1 ต.สุขเดือนห้า

         16. นางสาวชุติมา  ครคง  ม.1 ต.สุขเดือนห้า

         17. นางสาววิลาวรรณ  ชัยสิทธิ์  ม.1 ต.สุขเดือนห้า

         18. นางสาววราภรณ์  ศรีเดช  ม.1 ต.สุขเดือนห้า

         19. นางสาวอินทุอร  ราชจำเริญ ม.1 ต.สุขเดือนห้า

         20. นายกฤษณะ  ทองสัมฤทธิ์  ม.1 ต.สุขเดือนห้า

         21. นายวิษณุ  ต่างใจ  ม.2 ต.สุขเดือนห้า

         22. นางสาวเจนจิรา  นาทองคำ  ม.2 ต.สุขเดือนห้า

         23. นายสิทธิกร  ธัญญเจริญ  ม.2 ต.สุขเดือนห้า

         24. นางสาวสุนิสา  จำปาทอง  ม.2 ต.สุขเดือนห้า

         25. นางสาวญาสุมินทร์  จันทราช  ม.2 ต.สุขเดือนห้า

         26. นางสาวสกุลรัตน์  สินธุ์ทรัพย์สมาสุข  ม.13 ต.สุขเดือนห้า

         27. นางสาวศิริรัตน์  ทองนวน  ม.13 ต.สุขเดือนห้า

         28. นางสาววิไลลักษณ์  นรสิงห์  ม.13 ต.สุขเดือนห้า

         29. นางสาวนฤมล  การภักดี  ม.11 ต.กะบกเตี้ย

         30. นายภิศักดิ์  นับงาม  ผู้ริเริ่มโครงการทักษะคอมพิวเตอร์เพื่อชุมชน

 

ติดต่อเครือข่ายกองทุนพี่ช่วยน้องและเพื่อน

         ที่ตั้ง : วัดหนองยาง ม.2 ต.สุขเดือนห้า อ.เนินขาม จ.ชัยนาท 17130

         อีเมล์ : banrainarao@gmail.com

         เว็บบ้านไร่นาเรา www.banrainarao.com 

         เฟชบุ๊คบ้านไร่นาเรา www.facebook.com/banrainarao

         ผู้ประสานงาน : พระครูโกศลชัยพัฒน์ เจ้าอาวาสวัดหนองยาง (ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ) โทร.086-2038305

                                  คุณภิศักดิ์  นับงาม (เลขานุการเครือข่ายฯ) โทร.086-2113385